เมนู

การ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระ-
อรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.
จบกุกกุโรวาทสูตรที่ 7

7. อรรถกถากุกกุโรวาทสูตร

1
กุกกุโรวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
แล้วอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกลิเยสุ คือชนบทที่มีชื่ออย่างนี้.
โกลิยะนั้นเป็นชนบทหนึ่ง เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเหล่าพระ-
ราชกุมารฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งดำรงอยู่ ณ นครโกลิยะ ในชนบทชื่อ โกลิยะ นั้น.
คำว่า หลิทฺทวสนํ ความว่า คนทั้งหลายนุ่งห่มผ้าสีเหลือง เล่นนักขัตฤกษ์
ในคราวสร้างนิคมนั้น สิ้นสุดการเล่นนักขัตฤกษ์แล้ว พวกเขาก็ยกชื่อนิคมขนาน
นามว่า หลิททวสนะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำหลิททวสนะ
นิคมนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่. ก็ที่อยู่ในหลิททวสนนิคมนั้น ยังไม่ได้
กำหนดกันไว้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ ณ เสนาสนะอันสมควรแก่พระพุทธะทั้งหลาย. คำว่า โควตฺติโก ความว่า
ผู้สมาทานโควัตร การพระพฤติอย่างโค คือตั้งเขาทั้งสองเขาบนศีรษะ ผูกหาง

1. อรรถกถาเรียก กุกกุรวัตติยสตร.

เที่ยวเคี้ยวหญ้ากับเหล่าโค. คำว่า อเจโล แปลว่า เปลือย ไม่มีผ้า. คำว่า
เสนิโย เป็นชื่อของเขา. คำว่า กุกฺกุรวตฺติโก ความว่า ผู้สมาทานกุกกุรวัตร
การประพฤติอย่างสุนัข ทำกิริยาของสุนัขทุกอย่าง. ปุณณะ กับ เสนิยะ ทั้ง
สองนั้น. เป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกันมา. คำว่า กุกฺกุโรว ปลิกุญฐิตฺวา ความ
ว่า ขึ้นชื่อว่าสุนัข เมื่อนั่งใกล้ ๆ นาย เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยที่พื้นนั่งเห่า
เสียงสุนัข เสนิยะ คิดว่า แม้เราจักกระทำดุจกิริยาเเห่งสุนัข ครั้นกล่าวทักทาย
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยพื้น สลัดศีรษะ
ทำเสียงภุภุ นั่งคู้มือและเท้าเหมือนสุนัข. คำว่า ฉมายํ นิกฺขิตฺวา แปลว่า ที่เขา
วางไว้ที่พื้นดิน. คำว่า สมตฺตํ สมาทินฺนํ แปลว่า ที่ยึดอย่างบริบูรณ์. คำว่า
กา คติ คือผลสำเร็จเป็นอย่างไร. คำว่า โก อภิสมฺปรายโน หมายถึงภาย
ภาคหน้า คือบังเกิดในที่ไหน. คำว่า อลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ห้ามถึง 3 ครั้ง ด้วยทรงพระดำริว่า สิ่งที่ไม่น่ารักจักมีแก่เขา. คำว่า กุกฺกุรวตฺตํ
คือการถือเอาอากัปกิริยาของสุนัข . คำว่า ภาเวติ แปลว่า ทำให้เจริญ. คำว่า
ปริปุณฺณํ คือไม่พร่อง. คำว่า อพฺโพกิณฺณํ คือไม่ว่างเว้น. คำว่า
กุกฺกุรสีลํ คือความพระพฤติของสุนัข. คำว่า กุกฺกุรจิตฺตํ คือ เกิดความคิด
อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราจักกระทำการที่สุนัขทั้งหลายพึงกระทำ. คำว่า
กุกฺกุรากปฺปํ ความว่า อาการเดินของเหล่าสุนัขมีอยู่ อาการที่เห็นสุนัขเหล่า
อื่นแล้วแยกเขี้ยวเดินไป อาการนี้ชื่อว่า อาการของสุนัข. เขาทำอาการของ
สุนัขนั้นให้ปรากฏ. ในคำว่า อิมินาหํ สีเลน เป็นต้น ความว่า ข้าพระองค์
จักเป็นเทวดาหรือเทวดาองค์หนึ่งด้วยความประพฤติ ด้วยการสมาทานวัตร ด้วย
การประพฤติตบะที่ทำได้ยากหรือด้วยพรหมจรรย์คือการเว้นเมถุนนี้.คำว่า เทโว
คือบรรดาเทวดาทั้งหลาย มีท้าวสักกะ ท้าวสุยามะเป็นต้น เป็นเทวดาองค์ใด

องค์หนึ่ง. คำว่า เทวญฺญตโร คือบรรดาเทวดาเหล่านั้นเป็นเทวดาองค์ใด
องค์หนึ่งในฐานะที่ 2 ที่ 3 เป็นต้น. คำว่า มิจฺฉาทิฏฐิ ความว่า ความ
เห็นนั้นของเขา ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือทางที่มิใช่ทางไปสู่เทวโลกว่า
เป็นทางไปสู่เทวโลก. คำว่า อญฺญตรํ คตึ วทามิ ความว่า ก็คติของเขา
เป็นอื่นไปจากนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. คำว่า สมฺปชฺชมานํ คือกุกกุรวัตรที่เขาปฏิบัติอยู่ ไม่
เจือด้วยทิฏฐิ. คำว่า นาหํ ภนฺเต เอตํ โรทามิ ยํ มํ ภนฺเต ภควา เอวมาห
ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำพยากรณ์อันใดกะ
ข้าพเจ้าอย่างนี้ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ มิได้คร่ำครวญ มิได้ทอดถอนถึงคำ
พยากรณ์อันนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดอก. บัณฑิตพึงทราบความข้อนั้น
ด้วยอำนาจกรรมของตนเอง ด้วยประการฉะนี้. ไม่พึงทราบความด้วยอาการ
เพียงน้ำตาไหล. ก็ในข้อนี้ มีการประกอบความดังนี้ว่า
มตํ วา อมฺมา โรทนฺติ โย วา ชีวํ น ทิสฺสติ
ชีวนฺตํ อมฺม ปสฺสนฺตี กสฺมา มํ อมฺม โรทสิ.
แม่จ๋า คนทั้งหลาย เขาร้องไห้ถึง
แต่คนที่ตายแล้ว หรือคนที่ยังเป็นอยู่แต่ไม่
พบกัน เมื่อแม่เห็นฉันยังเป็นอยู่ เหตุไร แม่
จึงร้องไห้ถึงฉันเล่า แม่จ๋า. . .(คำของสานุ
สามเณร)

คำว่า อปิจ เม อิทํ ภนฺเต ความว่า นายเสนิยะ กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่งเล่ากุกกุรวัตรนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมาเป็นเวลายาว
นาน แม้เมื่อปฏิบัติกุกกุรวัตรนั้น ก็ไม่มีความเจริญ เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มี

ความเสื่อม (จัญไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำมาเป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ
(ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็น ความวิบัติของตัวเอง จึง
ร้องไห้ พระเจ้าข้า. คำว่า โควตฺตํ เป็นต้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมา
แล้วในกุกกุรวัตรเป็นอาทินั่นแล. คำว่า คฺวากปฺปํ แยกสนธิเป็น โคอากปฺปํ
แปลว่า อาการของโค. คำที่เหลือก็เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วในอาการ
ของสุนัขนั่นแหละ เห็นเหล่าสุนัขตัวอื่น ๆ แล้วแยกเขี้ยวเดินไปในกุกกุรวัตร
นั้น ฉันใด ก็พึงทราบอาการที่โคเห็นโคตัวอื่น ๆ แล้วยกหูทั้งสองเดินไป
ในโควัตรนี้ก็ฉันนั้น. คำนอกนั้นก็เหมือนกันนั่นแหละ.
คำว่า จตฺตารีมานิ ปุณฺณ กมฺมานิ ความว่า เหตุไร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงทรงปรารภพระธรรมเทศนานี้. ก็เพราะเทศนานี้มาด้วยอำนาจ
การกระทำกรรมบางอย่าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรม 4 หมวดนี้แล้ว
การกระทำของคนเหล่านี้จักปรากฏ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
ปรารภเทศนานี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่าคนทั้งสองนี้จักเข้าใจ
กรรม 4 หมวด ที่กำลังทรงแสดงนี้เท่านั้น ต่อนั้น คนหนึ่งจักถึงสรณะ คน
หนึ่งจักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ดังนั้น เทศนานี้เท่านั้นเป็นสัปปายะของ
พวกเขา จึงทรงปรารภเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กณฺหํ แปลว่า
ดำ ได้แก่กรรมที่เป็นอกุศลกรรมบถ 10. บทว่า กณฺหวิปากํ คือมีวิบากดำ
เพราะทำให้บังเกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ แปลว่า ขาว ได้แก่กรรมที่เป็น
กุศลกรรมบถ 10. บทว่า สุกกวิปากํ คือมีวิบากขาว เพราะทำให้บังเกิด
ในสวรรค์. บทว่า กณฺหสุกฺกํ คือกรรมที่คละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ
คือมีสุขและทุกข์เป็นวิบาก. แท้จริง บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ในตำแหน่งช้างมิ่งมงคลเป็นต้น ด้วยอกุศลกรรม ก็เสวยสุขใน

ปวัตติกาลด้วยกุศลกรรม. แม้เขาเกิดในราชตระกูล ด้วยกุศลกรรม ก็เสวย
ทุกข์ในปวัตติกาลด้วยอกุศลกรรม. กรรมคือเจตนาในมรรค 4 อันกระทำให้
สิ้นกรรมทรงประสงค์เอาว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว. ก็ผิว่า กรรมนั้นพึงเป็นกรรม
ดำไซร้ ก็จะพึงให้วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากขาว.
ส่วนเจตนากรรมในมรรค 4 ตรัสว่า ไม่ดำไม่ขาว ก็เพราะมีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เหตุไม่ให้วิบากทั้งสอง. ความในอุเทศเท่านี้ก่อน.
ส่วนในนิเทศพึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า สพฺยาปชฺฌํ แปลว่า
มีทุกข์. ในกายสังขารเป็นต้น อกุศลเจตนา 12 ที่ถึงความไหว้ด้วยอำนาจการ
จับถือเป็นต้น ในกายทวาร ชื่อว่า กายสังขารมีทุกข์. อกุศลเจตนา 12
นั้นนั่นแล ที่ทำให้การเปล่งคำเป็นไปได้ด้วยอำนาจการเคลื่อนไหวลูกคาง
ในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร. อกุศลเจตนา ที่ยังไม่ถึงความไหวทั้งสองที่
เป็นไปในมโนทวาร สำหรับคนที่กำลังคิดอยู่ลับ ๆชื่อว่า มโนสังขาร. ดังนี้ น
อกุศลเจตนาเท่านั้น ที่ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้นในทวารแม้ทั้งสาม พึง
ทราบว่า สังขาร.
แท้จริง ในพระสูตรนี้ เจตนา ชื่อว่า ธุระ. ในอุปาลิ (วาท) สูตร
เจตนา ชื่อว่า กรรม. บทว่า อภิสงฺขริตฺวา คือ ชักมา. อธิบายว่า ประ-
มวลมา. บทว่า สพฺยาปชฺฌํ โลกํ คือเข้าถึงโลกที่มีทุกข์. บทว่า สพฺยา-
ปชฺฌา ผสฺสา ผุสนฺติ
คือผัสสะที่มีทุกข์เป็นวิบาก ย่อมถูกต้อง. คำว่า
เอกนฺตทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์หาระหว่างมิได้. คำว่า ภูตา เป็นปัญจมีวิภัติ ลง
ในอรรถว่า เหตุ. ความเข้าถึง (อุปบัติ) ของสัตว์ที่เกิดแล้ว ย่อมมีเพราะ
กรรมที่มีแล้ว. ท่านอธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมทำกรรมที่มีแล้วอย่างไร ความ
เข้าถึงของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอำนาจกรรมที่มีส่วนเสมอกัน กับกรรมที่

มีแล้วอย่างไร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สัตว์ทำกรรม
อันใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมอันนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน
ความว่า สัตว์ทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า เหมือนเกิดเพราะกรรม แต่ชื่อว่า
การอุปบัติ ย่อมมีเพราะวิบาก ก็เพราะกรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ฉะนั้นสัตว์
ย่อมเกิดเพราะกรรมอันเป็นมูลเหตุนั้น. บทว่า ผสฺสา ผุสนฺติ ความว่า
สัตว์ทั้งหลายบังเกิดเพราะผลของกรรมอันใด ผัสสะย่อมถูกต้องผลของกรรม
อันนั้น. บทว่า กมฺมทายาทา คือ ทายาทของกรรม, เรากล่าวกรรมนั่นแหละ
ว่าเป็นทายาท คือเป็นมรดกของสัตว์เหล่านี้.
บทว่า อพฺยาปชฺฌํ แปลว่า ไม่มีทุกข์. ในวาระนี้ (นิทเทสวาร)
เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล 8 ที่เป็นไปในกายทวาร ชื่อว่ากายสังขาร. เจตนา
ฝ่ายกามาวจรกุศล 8 นั้นนั่นแหละ ที่เป็นไปในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร.
เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล 8 ที่เป็นไปในมโนทวาร และเจตนาในฌานเบื้องต่ำ
3 ชื่อว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร.
ถามว่า เจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน ทำไมกามาวจรจึงชื่อว่า
อัพยาปัชฌมโนสังขาร.
ตอบว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร ย่อมเกิดได้ในขณะเข้ากสิณ และ
ขณะเสพกสิณเนือง ๆ เจตนาฝ่ายกามาวจรต่อกับเจตนาปฐมฌาน เจตนาใน
จตุตถฌาน ต่อกับเจตนาในตติยฌาน. ดังนั้น กุศลเจตนาต่างโดยกายสุจริต
เป็นต้นเท่านั้น แม้ในทวารทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร. วาระที่สามก็พึง
ทราบด้วยอำนาจที่คละกันทั้งสองอย่าง. ในคำว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา เป็นต้น
พึงทราบว่า สำหรับพวกมนุษย์ก่อน ปรากฏว่าบางคราวก็สุข บางคราวก็ทุกข์

ส่วนในเหล่าเทวดาทั้งหลาย เหล่าภุมมเทวดา ในเหล่าวินิปาติกสัตว์ทั้งหลาย
เหล่าเวมานิกเปรต บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์. สุขย่อมเกิดได้แม้ในเหล่า
สัตว์ดิรัจฉานเช่นช้างเป็นต้น. บทว่า ตตฺร แปลว่า ในกรรมทั้ง 3 นั้น.
บทว่า ตสฺส ปหานาย ยา เจตนา ความว่า เจตนาในมรรค ก็เพื่อ
ประโยชน์แก่การละกรรมนั้น. แต่ถึงกรรมแล้วชื่อว่า ธรรมอย่างอื่นที่ขาวกว่า
เจตนาในมรรคไม่มี. ฝ่ายอกุศลเจตนา 10 ถึงกรรม 4 หมวดนี้แล้ว ชื่อว่า ดำ.
กุศลเจตนาที่เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า ขาว. มรรคเจตนามาแล้วว่า ไม่ดำไม่ขาว.
นายเสนิยะนั้นคิดว่า ตัวเราเหมือนจะเปลี่ยนความคิดว่า เราประกอบตัวไว้ใน
ฝ่ายธรรมที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์มาเป็นเวลานานแล้วหนอ ทำตนให้ลำบาก
เปล่า จักอาบน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำที่แห้ง เป็นเหมือนคนปักหลักลงในแกลบไม่ทำ
ประโยชน์อะไร ๆ ให้สำเร็จเลย เอาเถิด เราจะประกอบตัวไว้ในความเพียร
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคำนี้ว่า ลเภยฺยาหํ ภนฺเต.
ครั้งนั้น ติตถิยปริวาส (การอยู่อบรมสำหรับเดียรถีย์) อันใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วในขันธกวินัยว่า ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ตั้งอยู่ใน
ภูมิของสามเณรแล้วสมาทานอยู่ปริวาส โดยนัยว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีชื่อนี้
เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ประสงค์จะอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอปริวาส 4 เดือนกะสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
ติตถิยปริวาสนั้น จึงตรัสเป็นต้นว่า โย โข เสนิย อญฺญติตฺถิยปุพฺโพ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺชํ ตรัสด้วยอำนาจความที่ทรงมีพระวาจาอ่อน
หวาน. แม้ที่จริง เสนิยะนั้นไม่อยู่ปริวาสก็ได้บรรพชา. แต่เขาต้องการอุปสมบท
บำเพ็ญวัตร 8 ประการ มีการเข้าบ้านเป็นต้น พึงอยู่ปริวาส เกินกาลกำหนด.
บทว่า อารทฺธจิตฺตา คือมีจิตยินดีแล้วด้วยการบำเพ็ญวัตร 8 ประการ. นี้

เป็นความย่อในเรื่องติตถิยปริวาสนั้น. ส่วนความพิสดารของติตถิยปริวาสนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในกถาปัพพัชชาขันธกะ คัมภีร์อรรถกถาวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา. คำว่า อปิจ เมตฺถ แยกสนธิว่า อปิจ เม เอตฺถ. คำว่า
ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา คือรู้ความที่บุคคลเป็นต่าง ๆ กัน. พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงว่า คำนี้ปรากฏแก่เราว่า บุคคลนี้ควรอยู่ปริวาส บุคคลนี้ไม่ควร
อยู่ปริวาส. ต่อจากนั้น เสนิยะคิดว่า โอ พระพุทธศาสนาน่าอัศจรรย์จริง
ที่คนขัดสีทุบอย่างนี้แล้ว ก็ยึดเอาแต่ที่ควร ที่ไม่ควรก็ทิ้งไป. ต่อแต่นั้น
เขาก็เกิดอุตสาหะในการบรรพชาว่าดีกว่า จึงกราบทูลว่า สเจ โข ภนฺเต ดังนี้.
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่เขามีฉันทะแรงกล้า ทรงดำริ
ว่า เสนิยะไม่ควรอยู่ปริวาส. จึงตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า ภิกษุ เธอไปให้
เสนิยะอาบนำแล้วให้บรรพชา แล้วนำตัวมา. ภิกษุนั้นก็กระทำอย่างนั้น ให้
เขาบรรพชาแล้วนำมายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
นั่งกลางหมู่สงฆ์ ให้เขาอุปสมบทแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เสนิย-
นิครนถ์ผู้ถือกุกกุรวัตร ก็ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน แปลว่า อุปสมบทแล้วไม่นาน. บทว่า วูปกฏฺโฐ
คือปลีกกายและจิต ออกจากวัตถุกามและกิเลสกาม. บทว่า อปฺปมตฺโต คือ
ผู้ไม่ละสติในกัมมัฏฐาน. บทว่า อาตาปี คือผู้มีคุณเครื่องเผากิเลส ด้วย
คุณเครื่องเผากิเลสคือความเพียร ที่นับได้ว่าเป็นไปทางกายและทางจิต. บทว่า
ปหิตตฺโต คือผู้มีตนอันส่งไป มีอัตภาพอันสละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่เยื่อใย
ในร่างกายและชีวิต. คำว่า ยสฺสตฺถาย แยกสนธิว่า ยสฺส อตฺถาย. บทว่า
กุลปุตฺตา คือ บุตรผู้มีมรรยาทและสกุล. บทว่า สมฺมเทว คือ โดยเหตุ
โดยการณ์. คำว่า ตทนุตฺตรํ แยกสนธิว่า ตํ อนุตฺตรํ. บทว่า พฺรหฺม-

จริยปริโยสานํ คือ อรหัตผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. จริงแล้ว
กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมบวชเพื่อประโยชน์แก่มรรคพรหมจรรย์นั้น. สองบทว่า
ทิฏฺเฐว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้นี่แล. บทว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา
คือ กระทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญา ด้วยตัวเอง. อธิบายว่า ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็น
ปัจจัย (ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น). บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหาสิ คือ บรรลุแล้ว
ให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. ผู้อยู่อย่างนี้แล รู้ยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯ ล ฯ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปัจจเวกขณภูมิ (ญาณ) แก่เสนิยะนั้นอย่างนี้แล้ว
เพื่อทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ท่านจึงกล่าวว่า ก็ท่านเสนิยะเป็น
พระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อญฺญตโร คือ องค์หนึ่ง. บทว่า อรหตํ คือ แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ใน
ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า บรรดาพระอรหันตสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านเสนิยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุกกุโรวาทสูตรที่ 7

8. อภยราชกุมารสูตร


ว่าด้วยอภัยราชกุมาร


[91] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระราชกุมารพระนามว่า อภัย เสด็จเข้า
ไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[92] นิครนถ์นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า ไปเถิด พระราชกุมาร
เชิญพระองค์ทรงยกวาทะแก่พระสมณโคดม เมื่อพระองค์ทรงยกวาทะแก่สมณ-
โคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า อภัยราชกุมาร
ทรงยกวาทะแก่สมณโคดมผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้.
อภัยราชกุมารตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระ-
สมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร.
นิครนถ์นาฏบุตรทูลว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จ
เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคน
อื่นบ้างหรือหนอ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่าง
นี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
ของคนอื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า
เพราะแม้ปุถุชนก็พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ถ้า